Archive for March, 2015

แนวทางการใช้นวัตกรรมในธุรกิจท่องเที่ยว


ธุรกิจการท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศล้วนประทับใจในวัฒนธรรมการใช้บริการอย่าง เต็มใจและมีมิตรไมตรีของคนไทยที่มีต่อแขกบ้านแขกเมือง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวของประเทศซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูด นักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปีอย่างไร ก็ดี ธุรกิจการท่องเที่ยวในปัจจุบันมีผู้ให้บริการหรือคู่แข่งจำนวนมากทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ โดยมีกลไกด้านราคาเป็นแนวทางหลักในการแข่งขันของธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งการแข่งขันด้วยรูปแบบดังกล่าวไม่สามารถทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในภาวะ เศรษฐกิจเฉกเช่นปัจจุบัน

แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การสร้างความแตกต่างในการให้บริการเพื่อเพิ่มจุดขายให้กับธุรกิจของตน อาทิ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเช่นการนวดแผนไทย สปา ตลอดจนการนำ “นวัตกรรม” มาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ เมื่อคำนึงถึงกระแสความใส่ใจในสุขภาพของประชาชน จึงอาจจำแนกแนวทางการใช้นวัตกรรมในธุรกิจท่องเที่ยวได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การใช้นวัตกรรมควบคู่กับการรักษาสภาวะแวดล้อมหรือนวัตกรรมการให้บริการการ ท่องเที่ยวโดยหลักเกษตรอินทรีย์ และการใช้นวัตกรรมเพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพโดยตรงหรือนวัตกรรมการ ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
การ ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นกระแสการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่หลายประเทศ ต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นนักท่องเที่ยววัยทำงานและ วัยเกษียณ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังทรัพย์และมีแนวโน้มการเจ็บป่วยจากการทำงานหรือการ เจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งนี้การให้บริการจะเน้นการให้บริการเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำ งานร่วมกับการบำบัดสภาวะร่างกายและจิตใจไปพร้อมกัน โดยใช้หลักการทางการแพทย์เป็นพื้นฐานในการให้บริการ อนึ่ง เราสามารถจำแนกรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ตามกลุ่มเป้าหมายได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อการบำบัด กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อสร้างเสริมความสมบูรณ์ของสุขภาพและร่างกาย และกลุ่มท่องเที่ยวพำนักยาว

– กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อการบำบัด เป็นผลจากการที่นักท่องเที่ยวประสบปัญหาต่างๆ ทางด้านการรักษาโรค อาทิ คุณภาพในการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และการบริการ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างแสวงหาการรักษาจากนอกประเทศ โดยดูจากชื่อเสียง เครื่องมือการรักษา มาตรฐานการให้บริการและความประทับใจ ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในการ ให้บริการทางการแพทย์เพื่อการบำบัด เช่น บริการทันตกรรม บริการตรวจเช็คสุขภาพ และบริการทำเลซิก

– การให้บริการการท่องเที่ยวเพื่อบำบัดนั้น มิได้จำกัดเพียงการบำบัดร่างกาย เท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงบำบัดทางด้านจิตใจอีกด้วย เนื่องจากได้มีงานวิจัยปัจจุบันได้ระบุว่าระชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของ ประชากรโลกป่วยเป็นโรคทางจิตไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานซึ่งต้องอยู่ในสภาวะความเครียด หรือการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ดังที่พบในประเทศแอนติกา (Anitigua) ซึ่งมีบริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เฉพาะผู้ติดยาเสพติดเป็นหลัก โดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ

– กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อสร้างเสริมความสมบูรณ์ของสุขภาพและร่างกาย มักเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยววัยรุ่นหรือวัยทำงานช่วงต้น ซึ่งต้องการความท้าทาย ต้องการพบเห็นสิ่งใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ หรือแม้แต่การการปรับปรุงบุคลิกภาพ สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนาธุรกิจต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจให้บริการทางส่งเสริมสุขภาพและธุรกิจเสริมความงาม อนึ่ง การเตรียมการสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้จะต้องคำนึงถึงความพร้อม ทางการแพทย์ มาตรฐานทางการแพทย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ ตลอดจน การเตรียมความพร้อมในการให้บริการ

กลุ่มท่องเที่ยวพำนักยาว ประกอบด้วยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวก่อนการทำงานจริง และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เกษียณแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนักเรียนหรือนักศึกษาจบใหม่จะมีการใช้จ่ายที่จำกัด แต่มาอาศัยอยู่เป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ต่ำกว่า 1 เดือนดังนั้น การรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะต้องมีโปรแกรมท่องเที่ยวที่ชัดเจนในราคา ที่เหมาะสม ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่เกษียณแล้วมักเป็นนักท่องเที่ยวที่ค่อนข้างมีฐานะ มีความสามารถในการใช้จ่ายเงินค่อนข้างสูง ซึ่งนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ต้องการการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากโรคประจำตัวหรือโรคที่เกิดจากความชรา โดยแนวทางที่จะดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ด้าน เช่น สถานพักอาศัยที่เหมาะสม ความสะอาด ความปลอดภัย รวมถึงระบบเครือข่ายทางการแพทย์ที่รวดเร็ว โดยเฉพาะเครือข่ายการรักษาทางไกล (telemedical network) ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ ผ่านระบบการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ติดตาม และแจ้งเตือนเมื่อพบสิ่งผิดปกติ ทำให้สามารถเพิ่มความมั่นใจในระบบความช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กลุ่มนี้ได้