Posts Tagged ‘การท่องเที่ยว’

การประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นด้านการท่องเที่ยว

24
เทคโนโลยีการสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก เช่น การเจรจาทางธุรกิจ การตกลงซื้อขายสินค้า หรือแม้กระทั่งการโฆษณาสินค้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารนั้นทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีลักษณะการกระจายแบบทุกทิศทาง มีระบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว และยังเป็นการสื่อสารแบบสองทิศทางซึ่งเน้นการขับเคลื่อนคุณค่าสังคมและประชาสังคม โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารในการทำการตลาดและสื่อสารแบบสองทิศทาง เพื่อให้สินค้าและบริการตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การท่องเที่ยวพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นไทย นอกเหนือไปจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีทางด้านการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร พบว่า มีผู้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีการจัดสัมมนาและการประชุมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับการจัดการเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยจึงมีเป้าหมายในการศึกษาถึงประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ สามารถให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและดึงดูดความสนใจในการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เป็นการเผยแพร่ข่าวสารการท่องเที่ยวไปยังนักท่องเที่ยวเป้าหมาย เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับธุรกิจและผลิตภัณฑ์ โดยใช้กิจการรมและสื่อต่างๆที่ไม่ใช่ทางการค้า เป็นการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวจากธุรกิจไปสู่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวสนับสนุนวัตถุประสงค์การดำเนินงานของธุรกิจ และปรับแนวคิดระหว่างธุรกิจกับชุมชนให้สอดคล้องกัน การส่งเสริมการขายการท่องเที่ยวเป็นส่วนผสมของการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกหนึ่งตัวที่จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางการตลาดท่องเที่ยวทั้งหลายที่นอกเหนือจากการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายให้เกิดซื้อผลิตภัณฑ์และเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ตัวแทนจำหน่ายและพนักงานขาย

การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

1.เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารทางการท่องเที่ยว และให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว
2.เพื่อเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
3.เพื่อรักษาหรือเพิ่มส่วนครองตลาดการท่องเที่ยว
4.เพื่อเพิ่มพูนการระลึกถึง จดจำ การยอมรับ และความเชื่อถือด้านการท่องเที่ยว
5.เพื่อเพิ่มพูนปริมาณนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นในอนาคต
6.เพื่อสร้างความได้เปรียบทางด้านการท่องเที่ยวให้เหนือคู่แข่ง




การใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในภาคการท่องเที่ยว

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีส่งผลอย่างมากต่อการท่องเที่ยว การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีส่งผลต่อการท่องเที่ยวหลายด้าน ตั้งแต่ความต้องการของผู้บริโภคจนถึงการจัดการสถานที่ท่องเที่ยว เช่น นักท่องเที่ยวมากมายหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต บริษัทและองค์กรท่องเที่ยวจำนวนมากสร้างเว็บไซต์ในโลกออนไลน์ การศึกษาด้านไอซีทีและการท่องเที่ยว หรือที่เรียกว่า eTourism แสดงให้เห็นว่าไอซีทีได้เปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง และภาคการท่องเที่ยวจะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้ได้ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร eTourism พัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นภาคการท่องเที่ยวจึงต้องติดตามการพัฒนาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเทคโนโลยีนั้นไม่ได้พัฒนามาเพื่อการท่องเที่ยวโดยตรง บางครั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในภาคการท่องเที่ยวจึงไม่ทราบถึงทุก เทคโนโลยีใหม่ รวมถึงมีความไม่พร้อมในการนำเทคโนโลยีมาใช้และปรับใช้อีกด้วย

ความจริงเสมือน หรือ VR คือหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ได้รับการพัฒนา และถูกนำไปใช้ในหลายด้านซึ่ง ด้านการท่องเที่ยวก็เป็นหนึ่งในนั้น ในภาคการท่องเที่ยวมีการใช้ความจริงเสมือนหลากหลายและมีผลกระทบจากเทคโนโลยี นี้มากมาย ดังนั้นนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญควรให้ความสำคัญเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่

การใช้เทคโนโลยีความ จริงเสมือนเบื้องต้นในภาคการท่องเที่ยว ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการใช้ความจริงเสมือนที่เหมาะสม วิเคราะห์ปัญหาและความท้าทายหลักของการใช้ความจริงเสมือนในภาคการท่องเที่ยว และเสนอแนวคิดสำหรับการค้นคว้าเรื่องความจริงเสมือนกับการท่องเที่ยวในอนาคต การใช้ความจริงเสมือนขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและ อนาคต ในภาคการท่องเที่ยว 6 ด้านที่ระบบเสมือนจริงมีความสำคัญที่เด่นชัดคือ การวางแผนและการบริหาร การตลาด ความบันเทิง การศึกษา การเข้าถึง และการอนุรักษ์

การใช้ความจริงเสมือนในภาคการท่องเที่ยว การวางแผนและการบริหาร ความจริงเสมือนมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงนโยบายและมีความสำคัญในด้านการ วางแผนในภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากความสามารถในการเลือกมุมมอง การแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการได้ทันที ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีสองมิติอื่น ๆ ระบบเสมือนจริงจึงมีประโยชน์ในการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังช่วยแสดงแผนการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการทำให้ชุมชนได้รับ ทราบอีกด้วยและยังเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากผู้คนต่าง ๆ ในชุมชนซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าความมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนนั้น จะช่วยให้ไปถึงจุดมุ่งหมายได้ ข้อดีของการใช้ความจริงเสมือนคือเป็นการสื่อสารด้วยภาพ ดังนั้นคนที่มีพื้นฐานต่างกันจึงสามารถสื่อสารกันรู้เรื่อง นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการวางแผนสามารถใช้ได้หลายวิธี ตัวอย่างการใช้ เช่น ประเทศนอร์เวย์ ใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อวางแผนก่อนตัดถนน 2 สายผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยมีการใช้ความจริงเสมือนในการประชุมที่มีหน่วยงานรัฐ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อถกเถียงแผนงาน ตอบคำถาม และนำความคิดต่าง ๆ มาใช้ อีกตัวอย่างคือประเทศอิตาลี ใช้ความจริงเสมือนตอนที่จะสร้างศูนย์รวมการเดินทางผ่านอินเตอร์เน็ต โดยใช้สภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่คล้ายคลึงกับ SL ตัวอย่างสุดท้ายสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยว โดยการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้ AR แสดงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้คนในชุมชนได้เห็นและแสดงความคิดเห็น เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยว เช่น การพังทลายของดิน เพื่อใช้วางแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว




อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกับบทบาททางเทคโนโลยีในอนาคต

เทคโนโลยี มีบทบาทอย่างไรกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หลายคนอาจยังนึกภาพไม่ค่อยออก ซึ่งำหรับบางคนเป็นเหมือนแม่เหล็กขั้วเดียวกัน ที่จะมีแรงผลักดันกันออกไป เพราะหลายคนมักเลือกที่จะพักผ่อนโดยการทิ้งชีวิตประจำวันและเทคโนโลยีไว้ที่บ้าน และใช้เวลากับการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่

ซึ่งไม่ผิดหากว่าใครคิดแบบนั้น แต่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมๆ ชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้กับทุกๆ วัน สำหรับการท่องเที่ยวแล้ว เทคโนโลยี สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่จำเป็นต้องหาข้อมูลของการท่องเที่ยวให้ครบถ้วนก่อนการเดินทางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เว็บไซด์เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวได้ทั่วโลก รวมถึงการติดต่อสื่อสารเพื่อทำการจองห้องพักหรือบริการต่างๆ รวมถึงการสอบถามรายละเอียดจำเป็นเพิ่มเติม

และในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตได้ย่อโลกเอาไว้ในมือเรา ด้วยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วมากขึ้น ผ่านเครื่องมือสื่อสารแบบพกพามีราคาถูกลง การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Smartphone, Tablet หรือ เทคโนโลยีอื่นๆ ที่รองรับการเชื่อมต่อในรูปแบบต่างๆ จึงทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่าย การใช้บริการค้นหาและบอกตำแหน่งของสถานที่ปลายทาง รวมถึงใช้นำทางเพื่อไปยังสถานที่นั้นๆ ก็เป็นเรื่องง่ายเช่นกัน เป็นการยกระดับให้กับการท่องเที่ยว ซึ่งผู้ประกอบการ สามารถติดตามและค้นหาพิกัดเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยวได้ด้วย ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่ายถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องง่าย แต่หากขาดการโปรโมทหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ข้อมูลนั้นถูกกลืนหายไปกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยปริยาย และนั่นก็หมายถึงโอกาสทางธุรกิจที่ปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงในกลุ่มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ต้องพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดไม่ถึง ซึ่งผู้ประกอบการรายย่อย เริ่มมีการปรับตัวเพื่อการเตรียมพร้อมมากขึ้นเรื่อยๆ

เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่น้อยคนที่จะคิดค้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกใช้และพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทั้งในด้านของการนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงการเปิดรับความพึงพอใจของผู้บริโภค ถึงเวลาแล้วหรือยังคะ ที่เราจะปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี เพื่อธุรกิจที่สร้างสรรค์รองรับกับอนาคต




การใช้อินเตอร์เน็ตในการท่องเที่ยว

การใช้อินเตอร์เน็ตในการท่องเที่ยว

ปัจจุบันการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากขึ้นจนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีมากกว่าผู้ให้บริการการท่องเที่ยว พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมีการใช้อินเตอร์เน็ตในการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็เปลี่ยนมาให้บริการทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น การวางแผนท่องเที่ยว เพราะ นักท่องเที่ยวมีแหลงข้อมูลจำนวนมากในอินเตอร์เน็ตที่สามารถนำมาใช้ประกอบในการวางแผนการท่องเที่ยวและตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวจากการเปรียบเทียบข้อมูลท่องเที่ยวในอินเตอร์เน็ต และตัดสินใจซื้อรายการท่องเที่ยวผ่านอินเตอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวสามารถโต้ตอบกับผู้ประกอบการและสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยวใส่กลับไปในอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นข้อมูลการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวอื่นๆ ได้อีกด้วย ทำให้เกิดสังคม ชุมชนท่องเที่ยวที่มีข้อมูลมหาศาล บริการนักท่องเที่ยวในทุกๆ เรื่องที่ต้องการ เช่น ข้อมูลโรงแรม ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งข้อมูลความพึงพอใจ ในการใช้บริหารของการท่องเที่ยวที่ได้ไปมาแล้วเพื่อแจ้งให้กับนักเดินทางคนต่อไป

การค้าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายสินค้า และทำให้เกิดการค้าในรูปแบบของ พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น Helmut Berger และคณะ ได้กล่าวถึงการท่องเที่ยวว่าเป็นผู้นำตลาดในการพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ แบบ B2C เห็นได้จากจำนวนการขายแบบออนไลน์เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องคงที่เช่น การเดินทาง ขนส่ง ที่พัก เป็นต้น โครงสร้างของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมไปนักท่องเที่ยวไม่ต้องติดต่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวอีกแล้ว เนื่องจาก นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีข้อมูลแบบ real time ที่มีทั้งภาพ เสียง รายละเอียดข้อมูลทุกอย่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการนำเสนอข้อมูล ราคาที่ถูกกว่าเพราะไม่ต้องผ่านบริษัทตัวแทน ได้ลูกจำนวนมากกว่า และสามารถติดต่อโดยตรงกับนักท่องเที่ยว Roman Egger และ Dimitrios Buhalis ได้กล่าวถึงปัจจัยที่องค์กรการท่องเที่ยวจะต้องปรับเปลี่ยนนำเอา ICT มาใช้เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น สามารถบริหารจัดการบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวในเครือข่ายได้ และปรับใช้เพื่อความได้เปรียบกับคู่แข่ง อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางเสริม ผู้ประกอบการที่เป็นตัวกลางยังพอใจที่จะเป็นตัวกลางแบบเดิม เพราะถึงแม้นักท่องเที่ยวจะชอบค้นหาสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ตแต่พอใจที่จะใช้บริการส่วนตัวที่ได้รับจากตัวแทนท่องเที่ยว ต้องการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ ต้องการตัวกลางมาช่วยจัดการกับสารสนเทศจำนวนมาก และนักท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจยังคงต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่งที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคตคือนักท่องเที่ยวที่ใช้อินเทอร์เน็ต นิยมซื้อสินค้าบริการออนไลน์ และมีประสบการณ์จากการเดินทางหรือมาเที่ยวซ้ำ




ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวในปัจจุบันที่นานาประเทศ ให้การสำคัญ เพื่อการมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศและนานาชาติ ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Environmentally Sustainable Development) โดยให้ความสำคัญแก่การให้การศึกษาหรือการเรียนรู้ หรือมุ่งเน้นให้เกิดการอนุรักษ์มากกว่าการจัดการลดหรือปราศจากผลกระทบและนักท่องเที่ยวพึงพอใจเท่านั้น แต่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะต้องเป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มีการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษาแก่นักท่องเที่ยว ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีผู้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยมีการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และให้ชุมชนท้องถิ่น และสร้างจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบต่อระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ราฟ บุคเลย์ นิยามว่า คือการท่องเที่ยวที่ถูกจัดการดูแลอย่างยั่งยืน อยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติ มีการศึกษาด้านการเรียนรู้วัฒนธรรม และ/หรือ สิ่งแวดล้อมเอื้อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ และสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว

สาระสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศศูนย์วิจัยป่าไม้ ได้สรุปสาระสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ ดังนี้ แหล่งท่องเที่ยวที่จะส่งเสริมควรเป็นพื้นที่ธรรมชาติ   ที่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเป็นหลัก และอาจรวมถึงแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมที่ปรากฏในพื้นที่ด้วย ควรเป็นการท่องเที่ยวที่ทุกฝ่ายมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติและระบบนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวที่ไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เน้นให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยตรง อีกทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ประโยชน์กลับคืนสู่ธรรมชาติ เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม มุ่งเน้นคุณค่าลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยว แต่ไม่เน้นที่การเสริมแต่ง พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก จากที่กล่าวมาข้างต้น ได้สะท้อนภาพของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้อย่างชัดเจน ว่าเป็นการท่องเที่ยวและการพัฒนาไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะการพัฒนาจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวให้มีความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังกล่าว จะเห็นว่าองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมนั้นจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในท้องถิ่น ทั้งการกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการได้รับผลตอบแทนเพื่อกลับมาบำรุงรักษา และจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย